25 มกราคม 2568 12:00 น.




สยามรัฐออนไลน์


การเมือง

หลังจาก ภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกฯและ รมว.กลาโหม ยื้อโครงการเปลี่ยนเครื่องกำเนิดไฟฟ้า จาก MTU 396 เยอรมัน มาเป็น CHD620 จากจีน  มาใส่ในเรือดำน้ำจีน S26T ของกองทัพเรือไทย ออกไป อย่างน้อย 6 เดือน

โดยให้เหตุผลว่า ต้องรอบคอบ ในเรื่องข้อกฏหมาย ที่ตนเองจะต้องมาดูแลเอง  แม้ว่า ในยุคของ สุทิน คลังแสง เป็น รมว.กลาโหม จะพิจารณาไว้แล้ว รอนำเข้าครม. เท่านััน ก็ตาม  เพราะ ภูมิธรรม  รู้ว่า สุทิน ถูกบีบให้เร่งรัดอนุมัติ โดยมีการเจรจาต่อรองกันในหลายประเด็น

ภูมิธรรม เอง เมื่อมาเป็น รมว.กลาโหม ก็ต้องทบทวนใหม่ เพื่อไม่ให้ผิดพลาด จนกระทบ คณะรัฐมนตรี และ นางสาว แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี  เพราะต้องนำเข้าที่ประชุม ครม. อนุมัติ

ภูมิธรรม จึงต้องหาทางออกใหม่ ด้วยการเจรจากับ ผช.ทูตทหาร เยอรมัน เพื่อขอให้ไปเจรจากับรัฐบาล ในการขาย เครื่อง MTU 396 ให้ทร.ไทย  ส่วนจะไปใส่ในเรือดำน้ำ อย่างไร ก็เป็นเรื่องของเรา เพราะรู้ดีว่า เยอรมัน ใช้มาตรการกีดกันทางการค้า กับจีน และจะไม่ยอม ให้นำไปใส่ในเริอดำน้ำจีน ของ ทรไทย ก็ตาม

ท่ามกลางกระแสข่าวว่า  มีการเจรจาต่อรองในทางไม่เปิดเผย ระหว่าง ฝ่ายไทยกับเยอรมัน เพื่อให้เยอรมันยอมชาย MTU 396 ให้ โดยไทย จะพิจารณา ซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์อื่นของเยอรมัน เป็นการตอบแทน

ไม่ว่าจะเป็น เรือฟริเกต หรือแม้แต่เรือดำน้ำเยอรมัน สุดยอด เรือดำน้ำปรารถนาของ ทหารเรือไทย ในอนาคต  หากในที่สุด ทร.ได้เรือดำน้ำจีน  แต่ 1 ลำ เท่านั้น

แต่กระแสข่าวนี้ ยังไม่เป็นที่ยืนยันว่า จริงหรือไม่  เพราะเป็นเทคนิคในการเจรจา ที่ย่อม ไม่สามารถทำได้โดย ทร.

แต่ก็อาจจะสอดรับ การแผนการของบประมาณในการต่อเรือฟริเกต สมรรถนะสูง ของ ทร. ในงบประมาณปี 2569  ที่กำลังจัดทำกันอยู่ในเวลานี้

เพราะในตัวเลือกของ ทร. นั้น เยอรมัน ก็อยู่ใน วิช ลิสต์ ที่หมายปอง ของ ทร. ด้วย แม้จะราคาสูง  ถึงขั้นที่ “บิ๊กดุง” พล.ร.อ.อะดุง พันธุ์เอี่ยม  เคยกล่าวไว้ตอนเป็น ผบ.ทร. ว่า  ทหารเรือ ยอมกินมาม่า เพื่อที่จะได้ของดี มาใช้งาน

เมื่อ “บิ๊กแมว” พล.ร.อ.จิรพล ว่องวิทย์ มารับไม้ต่อเป็น ผบ.ทร. ก็จะสานต่อโครงการต่างๆของ พล.ร.อ.อะดุง  อดีตผบทร. เพื่อนรัก ตท.23 ผู้มีพระคุณ  ในหลายโครงการ  และ ยังจบจาก รร.นายเรือเยอรมัน อีกด้วย

ประกอบกับ กำลังรบทางเรือของ ทร.ไทย กำลังอ่อนด้อย  เพราะมีแต่เรือรบเก่า ที่ทะยอยปลดประจำการ ขณะที่ จีน สนับสนุนกำลังรบ ให้ ทั้ง เมียนมา และ กัมพูชา ที่ทะยอยได้รับเรือรบ เข้าประจำการ ในงบประมาณปี 2569 นี้ ทร. จึงตั้งกรอบงบประมาณ สำหรับต่อเรือฟริเกต 2 ลำ กว่า 3 หมื่นล้านบาท   จากแผนระยะแรก ที่ต้องการ 5 ลำ

พล.ร.อ.จิรพล  จึงเดินหน้าเต็มตัว หลังมีการพูดคุยกับ ภูมิธรรม แล้วโดยมีการตั้งคณะกรรมการจัดหาเริอฟริเกต โดยให้ “บิ๊กเดี่ยว” พล.ร.อ.ณัฐพล เดี่ยววานิช ผบ.กองเรือยุทธการ (ผบ.กร.) เป็นประธานโครงการ และตั้งคณะอนุกรรมการฯ อีกหลายชุด

ที่น่าจับตาคือ  คนที่เป็นประธานคณะอนุกรรมการกำหนดคุณลักษณะเฉพาะสำหรับเรือฟริเกต  “บิ๊กต้น” พล.ร.ท.ธาดาวุธ ทัดพิทักษ์กุล รองเสธ.ทร. ที่เป็นแคนดิเดท เสธ.ทร. และ ผบ.ทร.  ในอนาคต ในบรรดา นายทหารเรือ รุ่น ตท.27  อีกหลายคน  การได้เป็นประธาน คณะอนุกรรมการกำหนดสเปค เรือฟริเกต ถือว่า มีความสำคัญ

อีกทััง ก่อนหน้านีั พล.ร.ท.ธาดาวุธ   ยังเป็น ทีมงานในการแก้ปัญหาเรือดำน้ำจีน  ในการไปเจรจากับทางจีน มาแล้ว

นอกจากนั้น ยังมี คณะอนุกรรมการด้านกำหนดกลยุทธการสร้างเรือ โดยมี พล.ร.ท.อภิรมย์ เงินบำรุง เจ้ากรมอู่ทหารเรือ เป็นประธานฯ และ คณะอนุกรรมการด้านกำหนดการนำนโยบายการซื้อแบบชดเชย ที่มี พล.ร.ท.เทพฤทธิ์  ลาภเหลือ  เจ้ากรมยุทธการทหารเรือ  เป็นประธาน

ที่น่าจับตาคือ  พล ร อ จิรพล  มอบหมาย ให้ พล.ร.อ.ณัฏฐพล เป็นประธาน  ก็ยิ่งเป็นการตอกย้ำ การเป็น ตัวเต็ง ผบ.ทร. คนต่อไป  ในฐานะทายาทของ  พล.ร.อ.อะดุง  ที่วางตัวเอาไว้

แม้ว่า จะมีกระแสข่าวความแรงของ พล.ร.อ.สุชาติ  ธรรมพิทักษ์เวช  ที่ปรึกษาพิเศษทร. เพื่อนร่วมรุ่น ตท.25  ที่มีอายุราชการ ถึง 2570 นั่ง 2 ปี มากกว่า พล.ร.อ.ณัฏฐพล  ที่เกษียณ ต.ค.2569  ก็ตาม แต่ พล.ร.อ. ณัฏฐพล  คือ ตัวจริง ที่ถูกวางตัวไว้ แล้วยิ่งได้มาเป็น ประธานโครงการนี้ ก็ยิ่งชัดเจน

เพราะหากยึดตามหลักการแล้ว  มักจะให้ เสนาธิการทหารเรือ เป็นประธาน  แต่ครั้งนี้ พล.ร.อ.จิรพล ไม่ได้แต่งตั้ง เสธ.เฟื่อง พล.ร.อ.ไพโรจน์ เฟื่องจันทร์  เสธ.ทร. จาก ตท.24  เป็นประธาน   แม้ว่าจะเป็น แคนดิเดท ผบ.ทร.  ด้วยก็ตาม

อย่างไรก็ตาม เกิดกระแสข่าวสะพัดว่า “บิ๊กอ้วน” ภูมิธรรม  เริ่มมีความใกล้ชิดสนิทสนมกับ พล.ร.อ.สุชาติ ธรรมพิทักษ์เวช ที่ปรึกษาพิเศษ ทร. มากขึ้นๆ เพราะได้รับมอบหมายให้ดูแล โครงการพื้นที่พัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรือ EEC ที่ต้องทำงานประสานกับ ภูมิธรรม ด้วย

ไม่แค่นั้น ยังร่ำลือกันว่า  นายทหารเรือ ที่คุม EEC  ทำงานใกล้ชิดกับ  บรรดา นายทุนใหญ่ และภาคธุรกิจ  สนับสนุน  คล้ายๆกับในยุค พล.ร.อ.จิรพล ที่เคยทำหน้าที่นี้

กระแสข่าว นี้ ยังเชื่อมโยงกับ การแต่งตั้งโยกย้าย ที่ผ่านมา ที่ พล.ร.อ.อะดุง เสนอชื่อ พล.ร.อ.จิรพล เป็น ผบ.ทร. จนแหวกม่านประเพณี ทร. ในหลายเรื่อง ทั้ง การเป็น ผบ ทร. คนแรก ที่ไม่จบ รร.นายเรือ สามสมอ แต่จบจาก เยอรมัน ทั้งการไม่เคยเป็น ผช.ทูตทหารเรือ ประจำต่างประเทศ ตามธรรมเนียม ผบ.ทร. ในอดีต และการไม่ได้เติบโตมาในสายคอมแมนด์กำลังรบ ไม่เคยเป็น ผบ.หน่วย และออกนอก ไลน์ มานาน จนที่สุด เป็น ผบ.ทร. ที่ไม่ได้ขึ้นมาจาก 5 ฉลามทัพเรือ ในรอบกว่าทศวรรษ

เมื่อธรรมเนีนมประเพณี ทร. ถูกทำลาย แล้ว ก็กลายเป็นช่องโหว่ ที่ฝ่ายการเมือง จะเข้า สนับสนัน แคนดิเดท คนใดคนหนึ่ง  ให้ชิงเก้าอี้ ผบ.ทร. เพราะต่อจากนี้   คนที่เป็น พล.ร.อ.สามารภ เป็น ผบ.ทร.ได้ทุกคน จึงมีข่าวว่า ภูมิธรรม  เล็ง พล.ร.อ.สุชาติ  เอาไว้

แม้จะยังมี พล.ร.อ.พิจิตร ศรีรุ่งเรือง  ผช.ผบ.ทร.  จาก ตท.25 และ พล.ร.อ.พาสุกรี วิลัยรักษณ์  ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ ทร. จสก ตท.25  เป็นแคนดิเดท ด้วย ก็ตาม

แต่ที่แน่ๆ คนที่ถูกวางตัว เป็น ผบ.ทร. สืบต่อกันมา  ตั้งแต่ “บิ๊กเฒ่า” พล.ร.อ.สมประสงค์ นิลสมัย “บิ๊กจ๊อด” พล.ร.อ.เชิงชาย ชมเชิงแพทย์ “บิ๊กดุง”  พล.ร.อ.อะดุง พันธุ์เอี่ยม ก็คือ พล.ร.อ.ณัฏฐพล   และด้วย กฎของ บอร์ด 7 เสือกลาโหม ตามพรบ กลาโหม 2511  ผบ.เหล่าทัพ เสนอใคร ก็ต้องยึดตามนั้น  ฝ่ายการเมือง  แม้แต่ รมว.กลาโหม ก็ไม่สามารถ แทรกแซงได้

อีกทั้ง การแก้ไข พรบ.กลาโหม เพื้อสกัดรัฐประหาร และการสืบทอดอำนาจในกองทัพ  ยังไม่เกิดขึ้น เพราะ ผบ.เหล่าทัพ ไม่เห็นด้วยแล้ว  บอร์ด 7 เสือ กลาโหม ก็จะยังคงอยู่ และมีอำนาจตามเดิม

แม้ฝ่ายการเมิอง จะขอต่อรอง ให้เพิ่ม นายกฯ และ รองนายกฯ ฝ่ายความมั่นคง ในบอร์ด เป็น 9 เสือกลาโหม ก็ตาม แต่ ผบ.เหล่าทัพ ก็ไม่เห็นด้วย

ดังนั้น ทร. จึงต้อง ลุ้น ทั้ง เรือดำน้ำ ทั้ง เรือฟริเกต และ เชื่อมโยงกับ การแต่งตั้ง ผบ.ทร.คนใหม่ ในปลายปีนี้ ไปพร้อมๆกัน